หลังสงคราม (จนถึง พ.ศ. 2493) ของ ยุทธเวหาที่ลำปาง

ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและหัวหน้าเสรีไทยที่อเมริกา ผู้กลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด

สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงประกาศยอมจำนนและมีพระบรมราชโองการให้ทหารญี่ปุ่นทั่วโลกวางอาวุธ รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ทางญี่ปุ่นก็ได้ทำพิธียอมจำนนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 ที่อ่าวโตเกียว พันตรี ควง อภัยวงศ์ ได้ออก "ประกาศสันติภาพ"[24] มีผลให้การประกาศสงครามของไทยต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ พันตรี ควง อภัยวงศ์ ได้ลาออกจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี และร้องขอให้ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ด้านหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ก็สามารถเจรจากับอังกฤษและสามารถตกลงกันได้ในที่สุด[21]

การยอมจำนนครั้งนี้ส่งผลให้ผู้นำประเทศหลายประเทศที่เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ ตกเป็นอาชญากรสงครามทั้งสิ้น พันตรี ควง อภัยวงศ์ ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนที่ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ซึ่งจะต้องถูกแขวนคอในข้อหาอาชญากรสงคราม พันตรี ควง อภัยวงศ์ ได้เร่งรีบออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมและออกกฎหมายที่เรียก ประกาศสันติภาพ มีผลให้การประกาศสงครามของไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ โดยอ้างเหตุว่าขณะที่ประกาศสงครามนั้นหนึ่งในผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือ ปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้ลงนามด้วย สภาพเศรษฐกิจโดยร่วมขณะนั้นย่ำแย่ ประกอบกับประเทศสัมพันธมิตรบางประเทศอย่างอังกฤษไม่ยอมรับในสถานภาพนี้ของไทย และเรียกร้องสิทธิบางประการกับไทยเสมือนประเทศที่แพ้สงครามอื่น ๆ ด้วย ซึ่งต่อมา พันตรี ควง อภัยวงศ์ จึงได้ลาออก และ ทวี บุณยเกตุ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว เพื่อรอการกลับมาของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตที่สหรัฐอเมริกาและหัวหน้าขบวนการเสรีไทยที่นั่น เพื่อมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำร้องขอของนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้สำเร็จราชการในรัชกาลที่ 8

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ออกเดินทางจากสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2488 ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 17 กันยายน และได้ดำเนินการเจรจาตกลงข้อสัญญาบางประการกับอังกฤษ ไทยได้ตกลงทำสัญญาที่เรียกว่า สัญญาความตกลงสมบูรณ์แบบ เพื่อเลิกสถานะสงคราม ระหว่างไทยกับสัมพันธมิตร ประกอบด้วยสัญญา 24 ข้อ[25] จนแล้วเสร็จได้ทำบันทึกอย่างเป็นทางการลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 เป็นอันเสร็จภารกิจและ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ก็ได้ยื่นใบลาออกในวันนั้นทันที ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2489 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการยกเลิกกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรที่ใช้มา 4 ปี 1 เดือน เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีต่อระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2489

ใกล้เคียง

ยุทธเลิศ สิปปภาค ยุทธเวหาที่บริเตน ยุทธเวหาที่ลำปาง ยุทธเวหาที่เบอร์ลิน (การทัพของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร) ยุทธการที่เดิงแกร์ก ยุทธการที่เป่ย์ผิง–เทียนสิน ยุทธการที่เยรีโค ยุทธการที่เคอนิชส์แบร์ค ยุทธการที่เรฟีดิม ยุทธการเอนดอร์